By Banjongsan Winyarat,
LL.B.,LL.M.,M.B.A.(U.S.A.)
Suffrage, the right to vote in a particular country, generally derives from citizenship. In most countries, the right to vote is reserved to those who possess the citizenship of the country in question. Some countries, however, have extended suffrage rights to non-citizens. Suffrage rights extended to non-citizens are often restricted or limited in some ways, with the details of the restrictions or limitations varying from one country to another.
United States, more than 20 states or territories, including colonies before the Declaration of Independence, admitted foreigners' right to vote for all elections. As of May 2010, however, most of those foreign voting and office holding rights have been repealed and at present no foreigner may vote at the national or state level in the US, and only a handful of local governments allow foreigners to vote. These few foreign voting rights at the local level have been granted to non-citizens by state governments from 1968 onwards.
In Thailand, according to section 99 of The Constitution of Thailand 2550 B.E., say that a person who has the rights to vote must have the qualification to vote at an election is being of Thai nationality.
Source: wikipedia.org, constitution of Thailand 2550 B.E.
Chiang Mai Lawyer-Solicitor Chiang Rai Lawyer-Solicitor (St.-Cm. Law Firm) Since 1992 AREA OF PRACTICE Divorce Child Custody Family Law Notary Public Property Company Setup Testament Litigation Criminal Defense Civil Law Tel. 086-4293063, 082-1907466, 088-2516286 Fax: 053-718923 E-Mail: cmlawfirm@hotmail.com, banjonsanlawyer@gmail.com Line ID: 0864293063 Offices: Chiang Rai - Chiang Mai (Hot: chiang mai lawyer-chiang mai solicitor-chiang rai lawyer-chiang rai solicitor)
Sunday, August 22, 2010
Saturday, August 21, 2010
Factoring
โดย
บันจงสัณห์ วิญญรัตน์
น.บ., น.ม., M.B.A.(U.S.A.)
ลักษณะหรือรูปแบบของการทำธุรกิจแฟคเตอริ่ง เป็นการดำเนินธุรกิจ ที่เกี่ยวข้องกับการรับซื้อบัญชีลูกหนี้ทางการค้า รวมถึงการให้บริการเกี่ยวกับบัญชีลูกหนี้ทางการค้า ในส่วนของการบริหารบัญชีลูกหนี้ การเรียกเก็บหนี้ และการรับภาระการเสียงในหนี้สูญ โดยผู้ประกอบธุรกิจแฟคเตอริ่ง หรือที่เรียกว่า แฟคเตอร์ (FACTOR) จะได้รับค่าบำเหน็จหรือค่าธรรมเนียมเป็นการตอบแทน เป็นธุรกิจที่ดำเนินกิจการในลักษณะที่ผู้ประกอบธุรกิจ รับซื้อสินทรัพย์ หรือรับโอนสิทธิเรียกร้อง จากเจ้าของกิจการอื่นๆ ซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจทางการค้าขาย เป็นการนำสินทรัพย์ หรือสิทธิเรียกร้องที่มีอยู่ไปเปลี่ยนเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินกิจการ การดำเนินการในลักษณะดังกล่าว หากจะพิจารณาเปรียบเทียบกับวิธีดำเนินธุรกิจแบบดั้งเดิมของคนไทยในการเปลี่ยนสินทรัพย์ที่มีอยู่ให้เป็นเงินทุนหมุนเวียนก็อาจเปรียบเทียบได้จาก การนำสินทรัพย์ไป จำนอง จำนำ แต่ก็อาจจะไม่ใกล้เคียงเท่าใดนัก เพราะการจำนอง หรือจำนำนั้น เป็นเรื่องของกรรมสิทธิ์ แต่การทำแฟคเตอริ่งเป็นเรื่องของสิทธิเรียกร้อง หรือหากจะพิจารณาโดยเปรียบเทียบกับนโยบายของรัฐบาลชุดปัจจุบันแล้ว ก็อาจเปรียบเทียบได้กับ นโยบายการแปลงสินทรัพย์ให้เป็นทุน นั้นเอง
การทำธุรกิจเแฟคเตอริ่ง เป็นรูปแบบของการทำธุรกิจที่พัฒนามาจากความเจริญก้าวหน้าทางธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ จากจุดเริ่มของการเป็นตัวแทนทางการค้า พัฒนารูปแบบของธุรกิจไปสู่การให้บริการที่เกี่ยวข้อง โดยอาศัยความชำนาญและประสบการณ์ที่สั่งสมมาซึ่งเกิดขึ้นและวิวัฒนาการมาในหลายประเทศ จึงทำให้นิยามความหมายและลักษณะของธุรกิจแตกต่างกันออกไปในแต่ละประเทศ อันส่งผลถึงบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจประเภทนี้แตกต่างกันไปด้วย สัญญาแฟคเตอริ่ง (FACTORING CONTRACT) เป็นข้อตกลงที่ทำขึ้น ระหว่าง ผู้ประกอบธุรกิจแฟคเตอริ่ง กับผู้ประกอบธุรกิจทางการค้าขาย ซึ่งเกี่ยวข้องกับบุคคลที่สาม คือ ลูกหนี้ของผู้ประกอบธุรกิจทางการค้าขาย เมื่อความหมายของธุรกิจแฟคเตอริ่งในแต่ละประเทศแตกต่างกัน ประเทศไทยซึ่งนำรูปแบบของการทำธุรกิจแฟคเตอริ่ง จากต่างประเทศมาใช้ จึงไม่มีกฎหมายเฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจแฟคเตอริ่ง มีลักษณะกระจัดการจายอยู่ตามกฎหมายต่างๆ และใช้บังคับกับธุรกิจอื่นเป็นการทั่วไป จึงเกิดปัญหาว่า สัญญาหรือข้อตกลงที่ทำขึ้นในการดำเนินธุรกิจนั้น จะมีผลบังคับตามกฎหมายไทยได้หรือไม่ แค่ไหน เพียงใด และอย่างไร
บันจงสัณห์ วิญญรัตน์
น.บ., น.ม., M.B.A.(U.S.A.)
ลักษณะหรือรูปแบบของการทำธุรกิจแฟคเตอริ่ง เป็นการดำเนินธุรกิจ ที่เกี่ยวข้องกับการรับซื้อบัญชีลูกหนี้ทางการค้า รวมถึงการให้บริการเกี่ยวกับบัญชีลูกหนี้ทางการค้า ในส่วนของการบริหารบัญชีลูกหนี้ การเรียกเก็บหนี้ และการรับภาระการเสียงในหนี้สูญ โดยผู้ประกอบธุรกิจแฟคเตอริ่ง หรือที่เรียกว่า แฟคเตอร์ (FACTOR) จะได้รับค่าบำเหน็จหรือค่าธรรมเนียมเป็นการตอบแทน เป็นธุรกิจที่ดำเนินกิจการในลักษณะที่ผู้ประกอบธุรกิจ รับซื้อสินทรัพย์ หรือรับโอนสิทธิเรียกร้อง จากเจ้าของกิจการอื่นๆ ซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจทางการค้าขาย เป็นการนำสินทรัพย์ หรือสิทธิเรียกร้องที่มีอยู่ไปเปลี่ยนเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินกิจการ การดำเนินการในลักษณะดังกล่าว หากจะพิจารณาเปรียบเทียบกับวิธีดำเนินธุรกิจแบบดั้งเดิมของคนไทยในการเปลี่ยนสินทรัพย์ที่มีอยู่ให้เป็นเงินทุนหมุนเวียนก็อาจเปรียบเทียบได้จาก การนำสินทรัพย์ไป จำนอง จำนำ แต่ก็อาจจะไม่ใกล้เคียงเท่าใดนัก เพราะการจำนอง หรือจำนำนั้น เป็นเรื่องของกรรมสิทธิ์ แต่การทำแฟคเตอริ่งเป็นเรื่องของสิทธิเรียกร้อง หรือหากจะพิจารณาโดยเปรียบเทียบกับนโยบายของรัฐบาลชุดปัจจุบันแล้ว ก็อาจเปรียบเทียบได้กับ นโยบายการแปลงสินทรัพย์ให้เป็นทุน นั้นเอง
การทำธุรกิจเแฟคเตอริ่ง เป็นรูปแบบของการทำธุรกิจที่พัฒนามาจากความเจริญก้าวหน้าทางธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ จากจุดเริ่มของการเป็นตัวแทนทางการค้า พัฒนารูปแบบของธุรกิจไปสู่การให้บริการที่เกี่ยวข้อง โดยอาศัยความชำนาญและประสบการณ์ที่สั่งสมมาซึ่งเกิดขึ้นและวิวัฒนาการมาในหลายประเทศ จึงทำให้นิยามความหมายและลักษณะของธุรกิจแตกต่างกันออกไปในแต่ละประเทศ อันส่งผลถึงบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจประเภทนี้แตกต่างกันไปด้วย สัญญาแฟคเตอริ่ง (FACTORING CONTRACT) เป็นข้อตกลงที่ทำขึ้น ระหว่าง ผู้ประกอบธุรกิจแฟคเตอริ่ง กับผู้ประกอบธุรกิจทางการค้าขาย ซึ่งเกี่ยวข้องกับบุคคลที่สาม คือ ลูกหนี้ของผู้ประกอบธุรกิจทางการค้าขาย เมื่อความหมายของธุรกิจแฟคเตอริ่งในแต่ละประเทศแตกต่างกัน ประเทศไทยซึ่งนำรูปแบบของการทำธุรกิจแฟคเตอริ่ง จากต่างประเทศมาใช้ จึงไม่มีกฎหมายเฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจแฟคเตอริ่ง มีลักษณะกระจัดการจายอยู่ตามกฎหมายต่างๆ และใช้บังคับกับธุรกิจอื่นเป็นการทั่วไป จึงเกิดปัญหาว่า สัญญาหรือข้อตกลงที่ทำขึ้นในการดำเนินธุรกิจนั้น จะมีผลบังคับตามกฎหมายไทยได้หรือไม่ แค่ไหน เพียงใด และอย่างไร
Friday, August 20, 2010
let justice be done though the heavens fall
do justice and let the sky fall หรือ let justice be done though the heavens fall
จงประสาทความยุติธรรม แม้ฟ้าจะถล่มก็ตามที
By: Banjongsan Winyarat
LL.B.,LL.M.,M.B.A.(U.S.A.)
จงประสาทความยุติธรรม แม้ฟ้าจะถล่มก็ตามที (อังกฤษ: do justice and let the sky fall หรือ let justice be done though the heavens fall; ละติน: fiat justitia ruat caelum, เฟอัตจูสติเทียรูอัตคีลุม ) เป็นภาษิตภาษาละตินทางกฎหมายซึ่งบ่งบอกถึงความเชื่อว่า ความยุติธรรมจักต้องมีอยู่ไม่ว่าในสถานการณ์รูปแบบใดก็ตาม โดยชาลส์ ซัมเมอร์ (อังกฤษ: Charles Summer) นักการเมืองผู้รณรงค์ให้เลิกทาสแห่งคริสต์ศตวรรษที่ 19 กล่าวว่าภาษิตนี้ไม่ได้มีที่มาจากสมัยคลาสสิกแต่อย่างใด แม้จะเชื่อกันว่าเป็นคำของ ลูเชิส คาลเพอร์นิเอิส พิโซ ซีโซนิเนิส (อังกฤษ: Lucius Calpurnius Piso Caesoninus) รัฐบุรุษในสมัยโรมันโบราณผู้เป็นสสุระของจูเลียส ซีซาร์ ก็ตาม
Source: th.wikipedia.org
จงประสาทความยุติธรรม แม้ฟ้าจะถล่มก็ตามที
By: Banjongsan Winyarat
LL.B.,LL.M.,M.B.A.(U.S.A.)
จงประสาทความยุติธรรม แม้ฟ้าจะถล่มก็ตามที (อังกฤษ: do justice and let the sky fall หรือ let justice be done though the heavens fall; ละติน: fiat justitia ruat caelum, เฟอัตจูสติเทียรูอัตคีลุม ) เป็นภาษิตภาษาละตินทางกฎหมายซึ่งบ่งบอกถึงความเชื่อว่า ความยุติธรรมจักต้องมีอยู่ไม่ว่าในสถานการณ์รูปแบบใดก็ตาม โดยชาลส์ ซัมเมอร์ (อังกฤษ: Charles Summer) นักการเมืองผู้รณรงค์ให้เลิกทาสแห่งคริสต์ศตวรรษที่ 19 กล่าวว่าภาษิตนี้ไม่ได้มีที่มาจากสมัยคลาสสิกแต่อย่างใด แม้จะเชื่อกันว่าเป็นคำของ ลูเชิส คาลเพอร์นิเอิส พิโซ ซีโซนิเนิส (อังกฤษ: Lucius Calpurnius Piso Caesoninus) รัฐบุรุษในสมัยโรมันโบราณผู้เป็นสสุระของจูเลียส ซีซาร์ ก็ตาม
Source: th.wikipedia.org
การบันทึกคำให้การพยานของศาลชั้นต้น
การบันทึกคำให้การพยานของศาลชั้นต้น
บันจงสัณห์ วิญญรัตน์
น.บ., น.ม., M.B.A.(U.S.A.)
วันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2553
ด้วยความเคารพต่อผู้พิพากษา และศาล
การบันทึกคำให้การพยานของศาลชั้นต้น ณ ปัจจุบันนั้น กระทำด้วยการอัดเสียงพูดของผู้พิพากษา ที่นั่งพิจารณาคดีนั้นๆ แล้วส่งตลับเทป ให้เสมียนหน้าบัลลังก์ (พนักงานที่นั่งประจำอยู่ด้านหน้าผู้พิพากษา) เพื่อนำมาใส่หูฟัง ถอดคำพูดนั้นๆ ออกมาพิมพ์ เป็นข้อความใส่ในกระดาษ เพื่อให้พยานเซ็นรับรองว่าเป็นคำให้การพยานในศาล เพื่อนำมาประกอบการพิจารณา ตัดสินคดีต่อไป
ประเด็นคือ ผู้พิพากษาสามารถจะบันทึกหรือไม่บันทึกคำถาม-คำตอบใดๆ ก็ได้หรือไม่ อย่างไร เพราะหากบางครั้ง ผู้พิพากษาท่านนั้น มีคติลำเอียงเข้าข้างฝ่ายใดๆ แล้ว อาจจะบันทึกเฉพาะข้อความ คำให้การที่เป็นประโยชน์แก่ฝ่ายนั้น ตรงกันข้าม อาจไม่บันทึกข้อความ หรือคำให้การใดๆ ที่เป็นประโยชน์ต่ออีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งหากว่ากันตามทฤษฎีแล้ว ทนายความฝ่ายที่เสียหาย อาจขอให้ท่านผู้พิพากษาจดคำให้การใดๆก็ได้ หากเห็นว่าเกี่ยวกับประเด็นในคดี แต่วิธีปฏิบัติแล้ว จะมีทนายความสักกี่คนที่กล้าจะแย้งกับ ดุลยพินิจของศาล เพื่อตัวความ และหากเป็นทนายขอแรงยิ่งแล้วกันไปใหญ่ เพราะศาลขอให้มาทำงานคดีให้ ไม่ได้ให้มาเถียงโต้แย้งกับศาล
อย่างนี้ ความยุติธรรมจะเกิดขึ้นได้อย่างไร ทั้งที่ ทั้งท่านผู้พิพากษา พนักงานอัยการ ทนายจำเลย ทนายโจทก์ ก็ไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ รับรู้เรื่องราวมาด้วยตนเอง (ยกเว้นแต่ทนายความที่ลงพื้นที่ สืบเสาะหาข้อเท็จจริงเองจริงๆ หรือหากเป็นผู้พิพากษาที่เผชิญสืบ)
ทั้งนี้ เนื่องจาก ระบบการพิจารณาคดีแพ่ง และอาญาของไทยเรา เป็นแบบระบบกล่าวหา (Accusatiorial System) ไม่เหมือนกับบางประเทศ ซึ่งใช้ระบบไต่สวน (Inquisitorial System) โดยที่ระบบไต่สวนเน้นในเรื่องการค้นหาความจริงเป็นหลัก อันก่อให้เกิดความยุติธรรมขึ้นสูงสุด แก่ประชาชนผู้เดือดร้อนหรือได้รับความเสียหาย และแก่ผู้กระทำผิดเอง
ในทางปฏิบัติแล้วประเทศไทยยังประสบปัญหาในเรื่องของการรวบรวมข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้กระทำผิด เพื่อประกอบการดำเนินคดีอาญาที่ยังกระทำได้ค่อนข้างน้อย เนื่องจากบุคลากรที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าว[1]
[1] สรรค์ชัย สุทธิคนึง การนำเสนอข้อเท็จจริงที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ถูกกล่าวหาเข้าสู่คดีอาญา วิทยานิพนธ์/Thesis มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. ศูนย์สนเทศและหอสมุด 2551
บันจงสัณห์ วิญญรัตน์
น.บ., น.ม., M.B.A.(U.S.A.)
วันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2553
ด้วยความเคารพต่อผู้พิพากษา และศาล
การบันทึกคำให้การพยานของศาลชั้นต้น ณ ปัจจุบันนั้น กระทำด้วยการอัดเสียงพูดของผู้พิพากษา ที่นั่งพิจารณาคดีนั้นๆ แล้วส่งตลับเทป ให้เสมียนหน้าบัลลังก์ (พนักงานที่นั่งประจำอยู่ด้านหน้าผู้พิพากษา) เพื่อนำมาใส่หูฟัง ถอดคำพูดนั้นๆ ออกมาพิมพ์ เป็นข้อความใส่ในกระดาษ เพื่อให้พยานเซ็นรับรองว่าเป็นคำให้การพยานในศาล เพื่อนำมาประกอบการพิจารณา ตัดสินคดีต่อไป
ประเด็นคือ ผู้พิพากษาสามารถจะบันทึกหรือไม่บันทึกคำถาม-คำตอบใดๆ ก็ได้หรือไม่ อย่างไร เพราะหากบางครั้ง ผู้พิพากษาท่านนั้น มีคติลำเอียงเข้าข้างฝ่ายใดๆ แล้ว อาจจะบันทึกเฉพาะข้อความ คำให้การที่เป็นประโยชน์แก่ฝ่ายนั้น ตรงกันข้าม อาจไม่บันทึกข้อความ หรือคำให้การใดๆ ที่เป็นประโยชน์ต่ออีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งหากว่ากันตามทฤษฎีแล้ว ทนายความฝ่ายที่เสียหาย อาจขอให้ท่านผู้พิพากษาจดคำให้การใดๆก็ได้ หากเห็นว่าเกี่ยวกับประเด็นในคดี แต่วิธีปฏิบัติแล้ว จะมีทนายความสักกี่คนที่กล้าจะแย้งกับ ดุลยพินิจของศาล เพื่อตัวความ และหากเป็นทนายขอแรงยิ่งแล้วกันไปใหญ่ เพราะศาลขอให้มาทำงานคดีให้ ไม่ได้ให้มาเถียงโต้แย้งกับศาล
อย่างนี้ ความยุติธรรมจะเกิดขึ้นได้อย่างไร ทั้งที่ ทั้งท่านผู้พิพากษา พนักงานอัยการ ทนายจำเลย ทนายโจทก์ ก็ไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ รับรู้เรื่องราวมาด้วยตนเอง (ยกเว้นแต่ทนายความที่ลงพื้นที่ สืบเสาะหาข้อเท็จจริงเองจริงๆ หรือหากเป็นผู้พิพากษาที่เผชิญสืบ)
ทั้งนี้ เนื่องจาก ระบบการพิจารณาคดีแพ่ง และอาญาของไทยเรา เป็นแบบระบบกล่าวหา (Accusatiorial System) ไม่เหมือนกับบางประเทศ ซึ่งใช้ระบบไต่สวน (Inquisitorial System) โดยที่ระบบไต่สวนเน้นในเรื่องการค้นหาความจริงเป็นหลัก อันก่อให้เกิดความยุติธรรมขึ้นสูงสุด แก่ประชาชนผู้เดือดร้อนหรือได้รับความเสียหาย และแก่ผู้กระทำผิดเอง
ในทางปฏิบัติแล้วประเทศไทยยังประสบปัญหาในเรื่องของการรวบรวมข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้กระทำผิด เพื่อประกอบการดำเนินคดีอาญาที่ยังกระทำได้ค่อนข้างน้อย เนื่องจากบุคลากรที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าว[1]
[1] สรรค์ชัย สุทธิคนึง การนำเสนอข้อเท็จจริงที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ถูกกล่าวหาเข้าสู่คดีอาญา วิทยานิพนธ์/Thesis มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. ศูนย์สนเทศและหอสมุด 2551
Sunday, August 15, 2010
สาเหตุหย่า Grounds of Action for Divorce
โดย
บันจงสัณห์ วิญญรัตน์
น.บ., น.ม., M.B.A.(U.S.A.),Ph.D.(Law)Candidate Batch6 RU.
English Click Here
เมื่อสามี และภริยา ได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายแล้ว ก็จะก่อให้เกิดสิทธิหน้าที่มากมายต่อกัน และกัน ทั้งสิทธิหน้าที่ในครอบครัว และสิทธิหน้าที่ทางทรัพย์สิน นะครับ อย่างไรก็ตาม หากวันหนึ่ง สามี หรือภริยาอาจประพฤติผิดต่อกัน อันเป็นสาเหตุแห่งการนำไปสู่การฟ้องหย่า ซึ่งตามกฎหมาย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กำหนดเหตุฟ้องหย่ามีดังต่อไปนี้
(1) สามีอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องหญิงอื่นฉันภริยาหรือภริยามีชู้อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(2) สามีหรือภริยาประพฤติชั่ว ไม่ว่าความประพฤติชั่วนั้นจะเป็นความผิดอาญาหรือไม่ ถ้าเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่ง
(ก) ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง
(ข) ได้รับความดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่คงเป็นสามีหรือภริยาของฝ่ายที่ประพฤติชั่วอยู่ต่อไป หรือ
(ค) ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร ในเมื่อเอาสภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ
อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(3) สามีหรือภริยาทำร้าย หรือทรมานร่างกายหรือจิตใจ หรือหมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ถ้าเป็นการร้ายแรง อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(4) สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินหนึ่งปีอีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(4/1) สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก และได้ถูกจำคุกเกินหนึ่งปีในความผิดที่อีกฝ่ายหนึ่งมิได้มีส่วนก่อให้เกิดการกระทำความผิดหรือยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดนั้นด้วย และการเป็นสามีภริยา
กันต่อไปจะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายหรือเดือนร้อนเกินควรอีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(4/2) สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปีหรือแยกกันอยู่ตามคำสั่งของศาลเป็นเวลาเกินสามปี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(5) สามีหรือภริยาถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ หรือไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่เป็นเวลาเกินสามปีโดยไม่มีใครทราบแน่ว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(6) สามีหรือภริยาไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตามสมควรหรือทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง ทั้งนี้ ถ้าการกระทำนั้นถึงขนาดที่อีกฝ่ายหนึ่งเดือดร้อนเกินควรในเมื่อเอาสภาพ ฐานะ
และความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(7) สามีหรือภริยาวิกลจริตตลอดมาเกินสามปี และความวิกลจริตนั้นมีลักษณะยากจะหายได้ กับทั้งความวิกลจริตถึงขนาดที่จะทนอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาต่อไปไม่ได้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(8) สามีหรือภริยาผิดทัณฑ์บนที่ทำให้ไว้เป็นหนังสือในเรื่องความประพฤติอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(9) สามีหรือภริยาเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงอันอาจเป็นภัยแก่อีกฝ่ายหนึ่งและโรคมีลักษณะเรื้อรังไม่มีทางที่จะหายได้ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(10) สามีหรือภริยามีสภาพแห่งกาย ทำให้สามีหรือภริยานั้นไม่อาจร่วมประเวณีได้ตลอดกาล อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
หากภริยาพิสูจน์ด้วยพยาน และหลักฐานได้ว่า สามียกย่องหญิงอื่น ฉันภริยา เช่น เช่าบ้านอยู่ด้วยกัน กินอยู่ร่วมกัน อย่างออกหน้าออกตา เป็นต้น การกระทำดังกล่าวก็เข้าข้อกฎหมาย เป็นสาเหตุแห่งการฟ้องหย่า ภริยาก็มีสิทธิฟ้องหย่าได้ แต่สามีผู้ทำผิด ก่อให้เกิดเหตุฟ้องหย่าไม่มีสิทธิฟ้องหย่าได้ครับ
บันจงสัณห์ วิญญรัตน์
น.บ., น.ม., M.B.A.(U.S.A.),Ph.D.(Law)Candidate Batch6 RU.
English Click Here
เมื่อสามี และภริยา ได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายแล้ว ก็จะก่อให้เกิดสิทธิหน้าที่มากมายต่อกัน และกัน ทั้งสิทธิหน้าที่ในครอบครัว และสิทธิหน้าที่ทางทรัพย์สิน นะครับ อย่างไรก็ตาม หากวันหนึ่ง สามี หรือภริยาอาจประพฤติผิดต่อกัน อันเป็นสาเหตุแห่งการนำไปสู่การฟ้องหย่า ซึ่งตามกฎหมาย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กำหนดเหตุฟ้องหย่ามีดังต่อไปนี้
(1) สามีอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องหญิงอื่นฉันภริยาหรือภริยามีชู้อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(2) สามีหรือภริยาประพฤติชั่ว ไม่ว่าความประพฤติชั่วนั้นจะเป็นความผิดอาญาหรือไม่ ถ้าเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่ง
(ก) ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง
(ข) ได้รับความดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่คงเป็นสามีหรือภริยาของฝ่ายที่ประพฤติชั่วอยู่ต่อไป หรือ
(ค) ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร ในเมื่อเอาสภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ
อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(3) สามีหรือภริยาทำร้าย หรือทรมานร่างกายหรือจิตใจ หรือหมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ถ้าเป็นการร้ายแรง อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(4) สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินหนึ่งปีอีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(4/1) สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก และได้ถูกจำคุกเกินหนึ่งปีในความผิดที่อีกฝ่ายหนึ่งมิได้มีส่วนก่อให้เกิดการกระทำความผิดหรือยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดนั้นด้วย และการเป็นสามีภริยา
กันต่อไปจะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายหรือเดือนร้อนเกินควรอีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(4/2) สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปีหรือแยกกันอยู่ตามคำสั่งของศาลเป็นเวลาเกินสามปี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(5) สามีหรือภริยาถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ หรือไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่เป็นเวลาเกินสามปีโดยไม่มีใครทราบแน่ว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(6) สามีหรือภริยาไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตามสมควรหรือทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง ทั้งนี้ ถ้าการกระทำนั้นถึงขนาดที่อีกฝ่ายหนึ่งเดือดร้อนเกินควรในเมื่อเอาสภาพ ฐานะ
และความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(7) สามีหรือภริยาวิกลจริตตลอดมาเกินสามปี และความวิกลจริตนั้นมีลักษณะยากจะหายได้ กับทั้งความวิกลจริตถึงขนาดที่จะทนอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาต่อไปไม่ได้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(8) สามีหรือภริยาผิดทัณฑ์บนที่ทำให้ไว้เป็นหนังสือในเรื่องความประพฤติอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(9) สามีหรือภริยาเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงอันอาจเป็นภัยแก่อีกฝ่ายหนึ่งและโรคมีลักษณะเรื้อรังไม่มีทางที่จะหายได้ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(10) สามีหรือภริยามีสภาพแห่งกาย ทำให้สามีหรือภริยานั้นไม่อาจร่วมประเวณีได้ตลอดกาล อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
หากภริยาพิสูจน์ด้วยพยาน และหลักฐานได้ว่า สามียกย่องหญิงอื่น ฉันภริยา เช่น เช่าบ้านอยู่ด้วยกัน กินอยู่ร่วมกัน อย่างออกหน้าออกตา เป็นต้น การกระทำดังกล่าวก็เข้าข้อกฎหมาย เป็นสาเหตุแห่งการฟ้องหย่า ภริยาก็มีสิทธิฟ้องหย่าได้ แต่สามีผู้ทำผิด ก่อให้เกิดเหตุฟ้องหย่าไม่มีสิทธิฟ้องหย่าได้ครับ
Friday, August 13, 2010
ใครว่าอยู่เมืองนอกสบาย
โดย บันจงสัณห์ วิญญรัตน์ น.บ., น.ม., M.B.A.(U.S.A.) ทนายความ (banjongsan@gmail.com)
สมัยตอนที่ผมยังเป็นนักศึกษาปริญญาโท ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา มลรัฐแคริฟอร์เนีย เมืองลอสแอลเจลลิส เมืองที่มีคนไทยไปตั้งหลักแหล่ง เปิดร้านค้า มากที่สุดในประเทศอเมริกาแห่งหนึ่งครับ บ้างก็ว่าเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศไทยไปเลยก็มีครับ แต่ก็เป็นเรื่องแปลกนะครับ Los แปลว่าเมือง Angeles แปลว่า พวกเทวดา เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับ กรุงเทพมหานคร ก็มีความหมายเดียวกันครับ (เป็นความคิดส่วนตัวนะครับ) ว่า เป็นเมืองสำหรับพวกเทวดาอาศัยอยู่ครับ สำหรับท่านผู้อ่านจะเห็นด้วยหรือไม่ ก็พิจารณาเอานะครับ
ผมได้มีโอกาสไปใช้ชีวิตที่นั่นในปี 2532-2533 ประมาณนี้ครับ พักอยู่แถวๆ ย่านผู้ดีครับ ถนน Edenhurst Ave., ย่าน Glendale ครับ แถวๆถนนต่อไปยัง ถนนซันเซตและฮอลลีวูด ต่อเนื่องไปก็จะเป็นย่าน Beverly Hill ครับ ย่านดังของพวกดาราครับ
ไปแรกๆ ก็ต้องหัดขึ้นรถเมล์ก่อนครับ ยังไม่มีรถขับ เพราะต้องไปสอบใบขับขี่ให้ได้ก่อนครับ สุดท้ายก็ต้องขวนขวาย หาใบขับขี่รถยนต์ และต้องไปทำ I.D. Card ซึ่งการสอบใบอนุญาตขับขี่ สมัยนั้น ปี 2531 มีข้อสอบเป็นภาษาไทยครับ คล้ายกับบ้านเราครับ โดยสอบทฤษฎี และปฏิบัติ ผมโชคดีที่สอบครั้งเดียวผ่าน ก็ได้ใบขับขี่มาใช้ครับ
ตั้งแต่ขับรถยนต์ใน แอลเอ เคยถูกจับครั้งเดียวในรอบปีครึ่งที่อยู่ที่นั่นครับ คือฝ่าไฟแดง ที่อเมริกา ต้องขึ้นศาลจราจรครับ ไปเสียค่าปรับที่นั่น ผมรับสารภาพ จึงถูกปรับ และต้องไปนั่งเรียนระเบียบจราจรครับ จำไม่ได้ว่าต้องไปเรียนกี่ครั้งครับ ไม่เหมือนกับบ้านเราครับ ที่เสียค่าปรับที่ตำรวจ จบเลย คนถึงไม่เข็ดครับ ที่นั่นขึ้นศาลอย่างเดียวครับ ตำรวจมีเพียงหน้าที่จับ เท่านั้น ไม่มีอำนาจสั่งปรับครับ
ที่ผมชอบมากคือว่า ในบ้านเมืองของเขาเนี่ยะ เวลาขับรถไปถึงสี่แยกนะครับ รถทุกคันต้องหยุด เพื่อดูว่า แยกที่เหลือนั้น มีรถคันอื่นจอดรออยู่ก่อนแล้วหรือไม่ครับ หากมีรถคันอื่นจอดรถอยู่ก่อน ต้องปล่อยให้เข้าไปก่อนครับ หรือพูดอีกอย่างหนึ่งว่า ใครมาจอดที่สี่แยกก่อน ก็ได้สิทธิไปก่อนครับ ประเทศเขาปฏิบัติกันเป็นประเพณีกันเลยครับ เป็นระเบียบกันดีเหลือเกินครับ ตรงนี้ผมชอบมาก บอกได้ว่าประทับใจที่สุดครับ
ราคารถยนต์ที่นั่น แตกต่างกับประเทศไทยเราราวฟ้ากับดินครับ บ้านเขา ตอนนั้น ผมเคยเทียบรถยี่ห้อเดียวกัน ปี รุ่นเดียวกัน ปรากฏว่า ในประเทศสหรัฐอเมริกานั้น สมมติว่าราคา 10,000 บาท ก็จะเท่ากับราคาในบ้านเรา 100,000 บาทครับ เอาสิบคูณ เป็นรู้ราคาที่เมืองไทยครับ ดังนั้น หากอยู่เมืองไทยขับรถคันละล้านที่บ้านเขา ก็ราคาแค่ 100,000 บาทครับ แต่ต้องซื้อประกันทุกคันนะครับ นี่ขนาดราคารถบ้านเขาถูกกว่าของเราไม่รู้จะกี่เท่าครับ ถ้าคิดไม่ผิดก็ประมาณสิบเท่าครับ นี่เป็นการเปรียบเทียบราคา ในสมัยปี 2533 ครับ หรือประมาณ สิบกว่าปีมาแล้วครับ ไม่รู้ตอนนี้เป็นไงบ้างครับ ใครทราบก็แสดงความคิดเห็นได้นะครับ
สมัยตอนที่ผมยังเป็นนักศึกษาปริญญาโท ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา มลรัฐแคริฟอร์เนีย เมืองลอสแอลเจลลิส เมืองที่มีคนไทยไปตั้งหลักแหล่ง เปิดร้านค้า มากที่สุดในประเทศอเมริกาแห่งหนึ่งครับ บ้างก็ว่าเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศไทยไปเลยก็มีครับ แต่ก็เป็นเรื่องแปลกนะครับ Los แปลว่าเมือง Angeles แปลว่า พวกเทวดา เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับ กรุงเทพมหานคร ก็มีความหมายเดียวกันครับ (เป็นความคิดส่วนตัวนะครับ) ว่า เป็นเมืองสำหรับพวกเทวดาอาศัยอยู่ครับ สำหรับท่านผู้อ่านจะเห็นด้วยหรือไม่ ก็พิจารณาเอานะครับ
ผมได้มีโอกาสไปใช้ชีวิตที่นั่นในปี 2532-2533 ประมาณนี้ครับ พักอยู่แถวๆ ย่านผู้ดีครับ ถนน Edenhurst Ave., ย่าน Glendale ครับ แถวๆถนนต่อไปยัง ถนนซันเซตและฮอลลีวูด ต่อเนื่องไปก็จะเป็นย่าน Beverly Hill ครับ ย่านดังของพวกดาราครับ
ไปแรกๆ ก็ต้องหัดขึ้นรถเมล์ก่อนครับ ยังไม่มีรถขับ เพราะต้องไปสอบใบขับขี่ให้ได้ก่อนครับ สุดท้ายก็ต้องขวนขวาย หาใบขับขี่รถยนต์ และต้องไปทำ I.D. Card ซึ่งการสอบใบอนุญาตขับขี่ สมัยนั้น ปี 2531 มีข้อสอบเป็นภาษาไทยครับ คล้ายกับบ้านเราครับ โดยสอบทฤษฎี และปฏิบัติ ผมโชคดีที่สอบครั้งเดียวผ่าน ก็ได้ใบขับขี่มาใช้ครับ
ตั้งแต่ขับรถยนต์ใน แอลเอ เคยถูกจับครั้งเดียวในรอบปีครึ่งที่อยู่ที่นั่นครับ คือฝ่าไฟแดง ที่อเมริกา ต้องขึ้นศาลจราจรครับ ไปเสียค่าปรับที่นั่น ผมรับสารภาพ จึงถูกปรับ และต้องไปนั่งเรียนระเบียบจราจรครับ จำไม่ได้ว่าต้องไปเรียนกี่ครั้งครับ ไม่เหมือนกับบ้านเราครับ ที่เสียค่าปรับที่ตำรวจ จบเลย คนถึงไม่เข็ดครับ ที่นั่นขึ้นศาลอย่างเดียวครับ ตำรวจมีเพียงหน้าที่จับ เท่านั้น ไม่มีอำนาจสั่งปรับครับ
ที่ผมชอบมากคือว่า ในบ้านเมืองของเขาเนี่ยะ เวลาขับรถไปถึงสี่แยกนะครับ รถทุกคันต้องหยุด เพื่อดูว่า แยกที่เหลือนั้น มีรถคันอื่นจอดรออยู่ก่อนแล้วหรือไม่ครับ หากมีรถคันอื่นจอดรถอยู่ก่อน ต้องปล่อยให้เข้าไปก่อนครับ หรือพูดอีกอย่างหนึ่งว่า ใครมาจอดที่สี่แยกก่อน ก็ได้สิทธิไปก่อนครับ ประเทศเขาปฏิบัติกันเป็นประเพณีกันเลยครับ เป็นระเบียบกันดีเหลือเกินครับ ตรงนี้ผมชอบมาก บอกได้ว่าประทับใจที่สุดครับ
ราคารถยนต์ที่นั่น แตกต่างกับประเทศไทยเราราวฟ้ากับดินครับ บ้านเขา ตอนนั้น ผมเคยเทียบรถยี่ห้อเดียวกัน ปี รุ่นเดียวกัน ปรากฏว่า ในประเทศสหรัฐอเมริกานั้น สมมติว่าราคา 10,000 บาท ก็จะเท่ากับราคาในบ้านเรา 100,000 บาทครับ เอาสิบคูณ เป็นรู้ราคาที่เมืองไทยครับ ดังนั้น หากอยู่เมืองไทยขับรถคันละล้านที่บ้านเขา ก็ราคาแค่ 100,000 บาทครับ แต่ต้องซื้อประกันทุกคันนะครับ นี่ขนาดราคารถบ้านเขาถูกกว่าของเราไม่รู้จะกี่เท่าครับ ถ้าคิดไม่ผิดก็ประมาณสิบเท่าครับ นี่เป็นการเปรียบเทียบราคา ในสมัยปี 2533 ครับ หรือประมาณ สิบกว่าปีมาแล้วครับ ไม่รู้ตอนนี้เป็นไงบ้างครับ ใครทราบก็แสดงความคิดเห็นได้นะครับ
Visa
General Information about Visa
1. Generally, a foreign citizen who wishes to enter the Kingdom of Thailand is required to obtain a visa from a Royal Thai Embassy or a Royal Thai Consulate-General. However, nationals of certain countries do not require a visa if they meet visa exemption requirements as follows:
(1) they are nationals of countries which are exempted from visa requirements when entering Thailand for tourism purposes. Such nationals will be permitted to stay in the Kingdom for a period of not exceeding 30 days. For more information, please see Tourist Visa Exemption; (2) they are nationals of countries which hold bilateral agreements with Thailand on the exemption of visa requirements. For more information, please see List of Countries which have Concluded Agreements with Thailand on the Exemption of Visa Requirements .
2. Nationals of certain countries may apply for visa upon arrival in Thailand. Travellers with this type of visa are permitted to enter and stay in Thailand for a period of not exceeding 15 days. For more information, please see Visa on Arrival.
3. Travellers travellling from/through countries which have been declared Yellow Fever Infected Areas must acquire an International Health Certificate verifying the receiving of a Yellow Fever vaccination. For more information, please see List of Countries which are Declared Yellow Fever Infected Areas.
4. Nationals of certain countries are required to apply for a visa only at the Royal Thai Embassy or the Royal Thai Consulate-General in the applicant’s country of residence, or at the Royal Thai Embassy which has jurisdiction over his or her country of residence. Travelers are advised to enquire about authorised office for visa issuance at any Royal Thai Embassy or Royal Thai Consulate-General before departure. Contact details and locations of Royal Thai Embassies and Royal Thai Consulates-General are available at www.mfa.go.th/web/10.php.
5. To apply for a visa, a foreigner must possess a valid passport or travel document that is recognised by the Royal Thai Government and comply with the conditions set forth in the Immigration Act of Thailand B.E.2522 (1979) and its relevant regulations. In addition, the visa applicant must be outside of Thailand at the time of application. The applicant will be issued with a type of visa in accordance to his or her purpose of visit. For more information on types of visas and general requirements for each type of visa, please see Types of Visa and Issuance of Visa.
6. In general, applicants are required to apply for a visa in person. However, Royal Thai Embassies and Royal Thai Consulates-General in some countries and in some cases may also accept applications sent through representatives, authorised travel agencies or by post. Please enquire at the Royal Thai Embassy or Royal Thai Consulate-General where you intend to submit your application of acceptable ways of application.
7. Please note that the period of visa validity is different from the period of stay. Visa validity is the period during which a visa can be used to enter Thailand. In general, the validity of a visa is 3 months, but in some cases, visas may be issued to be valid for 6 months, 1 year or 3 years. The validity of a visa is granted with discretion by the Royal Thai Embassy or Royal Thai Consulate-General and is displayed on the visa sticker.
8. On the other hand, the period of stay is granted by an immigration officer upon arrival at the port of entry and in accordance with the type of visa. For example, the period of stay for a transit visa is not exceeding 30 days, for a tourist visa is not exceeding 60 days and for a non-immigrant visa is not exceeding 90 days from the arrival date. The period of stay granted by the immigration officer is displayed on the arrival stamp. Travellers who wish to stay longer than such period may apply for extension of stay at offices of the Immigration Bureau in Bangkok, located at Government Center B, Chaengwattana Soi 7, Laksi, Bangkok 10210, Tel 0-2141-9889 or at an Immigration office located in the provinces. For information on application for extension of stay, see the Immigration Bureau website at www.immigration.go.th
9. Foreigners entering Thailand are not permitted to work, regardless of their types of visa, unless they are granted a work permit. Those who intend to work in Thailand must hold the correct type of visa to be eligible to apply for a work permit. Information on Work Permit applications could be obtained from the website of the Office of Foreign Workers Administration, Department of Employment, Ministry of Labour at www.doe.go.th/workpermit/index.html
10. Royal Thai Embassies and Royal Thai Consulates-General have the authority to issue visas to foreigners for travel to Thailand. The authority to permit entry and stay in Thailand, however, is with the immigration officers. In some cases, the immigration officer may not permit foreigner holding a valid visa entry into Thailand should the immigration officer find reason to believe that he or she falls into the category of aliens prohibited from entering Thailand under the Immigration Act B.E. 2522 (1979).
11. According to the Immigration Act of Thailand B.E. 2522 (1979), foreigners who fall into any of the following categories are prohibited to enter Thailand:
(1) Having no genuine valid passport or document used in lieu of passport; or having a genuine valid passport or document used in lieu of passport without valid visa issuance by the Royal Thai Embassies, the Royal Thai Consulates-General or the Ministry of Foreign Affairs, with exception of those who meet visa exemption requirements. The terms and conditions of visa issuance and visa exemption are prescribed by the Ministerial Regulations.(2) Having no appropriate means of living following entry into the Kingdom. (3) Having entered the Kingdom to be employed as an unskilled or untrained labourer, or to work in violation of the Alien Work Permit Law. (4) Being mentally unstable or having any of the diseases stated in the Ministerial Regulations. (5) Having not yet been vaccinated against smallpox; or inoculated, or undergone any other medical treatment for protection against disease; and having refused to have such vaccinations administered by the Immigration Doctor. (6) Having been imprisoned by judgment of the Thai Court; or by lawful injunction or judgment of the Court of a foreign country, except for when the penalty is for a petty offence, or negligence, or is provided for as an exception by the Ministerial Regulations. (7) Having behaviour which could cause possible danger to the public; or having the likelihood of being a nuisance or constituting any violence to the peace, safety and security of the public or to the security of the nation; or being under warrant of arrest by competent officials of foreign governments. (8) Reason to believe that entry into Kingdom is for the purpose of being involved in prostitution, the trafficking of women or children, drug smuggling, or other types of smuggling which are against public morality. (9) Having no money or bond as prescribed by the Minister under Section 14 of the Immigration Act B.E. 2522 (1979). (10) Being a person prohibited by the Minister under Section 16 of the Immigration Act B.E. 2522 (1979). (11) Being deported by either the Government of Thailand or that of other foreign countries; or having been revoked the right of stay in the Kingdom or in foreign countries; or having been expelled from the Kingdom by competent officials at the expense of the Government of Thailand unless exemption is provided by the Minister on an individual basis.
For more information please contact http://www.mfa.go.th/web/2482.php?id=2490
กว่าจะได้เป็นทนายความ
ครับ หัวข้อดูแล้วน่าติดตาม สำหรับน้องๆ เพื่อนๆ พี่ๆ หรือรุ่นใหญ่ ที่อยากมีอาชีพทนายความ เลี้ยงดูครอบครัวแล้วซิครับ ผมจะมาเล่าประสบการณ์ การเข้าสู่วิชาชีพนี้ ตั้งแต่เริ่มเรียนกฎหมาย จนกระทั่งขึ้นโรงขึ้นศาล
FAQ
1. ถาม
คนมาเลย์แต่งงานกับผู้หญิงไทย ซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างใส่ชื่อน้องเมียไว้ น้องเมียเอาที่ดินพร้อมสิ่งปลุกสร้างไปขายให้บุคคลอื่น จะดำเนินคดีอาญาน้องเมียในความผิดฐานยักยอกได้หรือไม่(ปัญหาเรื่องกรรมสิทธิ์กับสิทธิครอบครอง) คนมาเลย์จะไปแจ้งความดำเนินคดี เกรงปัญหาความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดินซึ่งมีโทษทางอาญา
ตอบ
เรื่องนี้ อาจจะซับซ้อนหน่อย เพราะเป็นการเลี่ยงกฎหมาย มาตั้งแต่แรก โดยการให้คนไทยถือกรรมสิทธิ์ที่ดินแทนคนต่างด้าวที่ไม่ได้รับอนุญาตให้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินในประเทศไทย เป็นความผิดอาญามีโทษจำคุก ตามป.ที่ดิน ในเมื่อสัญญาตัวการ-ตัวแทน (ถือกรรมสิทธิแทนกัน) เป็นสัญญาที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย (โดยเฉพาะกฎหมายมีโทษอาญา) สัญญาดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะครับ ใช้ไม่ได้ ถือไม่ได้ว่ามีสัญญาเกิดขึ้นเลย คู่สัญญาต้องกลับสู่สภาพเดิมครับ เมื่อไม่ถือว่ามีสัญญาตัวการ-ตัวแทน กันมา น้องเมียก็ไม่ผิดฐานยักยอกครับ เพียงแต่ต้องนำที่ดิน โอนคืนเจ้าของเดิม และเจ้าของเดิม ต้องคืนเงินให้คนมาเลย์ครับ (กรณีต้องดูว่า เจ้าของเดิมรู้หรือไม่ ที่น้องเมียซื้อแทนคนต่างด้าว)
สรุป
1. คนมาเลย์ แจ้งความไม่ได้ครับ เพราะไม่มีสัญญาตัวการ-ตัวแทน (และคนมาเลย์ อาจถูกดำเนินคดีอาญา ตาม ป.ที่ดินได้ด้วยครับ)
2. คนมาเลย์ ต้องฟ้องเป็นคดีแพ่ง เรียกคืนที่ดิน มาเพื่อนำมาขายทอดตลาด (ไม่ใช่เรียกมาเป็นของตน) แล้วเอาเงินกลับไปครับ
Legal-Attorney-Thai-Law Firm: CMLaw Firm Ltd.
Legal-Attorney-Thai-Law Firm: CMLaw Firm Ltd.: "LL.B., LL.M., M.B.A.(U.S.A.) Lawyer: 086-4293063 Thailand. There are plenty of reasons to know of a good lawyer in Chiang Mai and Chia..."
Cmlawfirm@hotmail.com
Cmlawfirm@hotmail.com
Subscribe to:
Posts (Atom)