Wednesday, May 23, 2012

คำให้การรับสารภาพของจำเลย

คำให้การรับสารภาพของจำเลย วันนัดพร้อมคดีอาญาข้อหาทำร้ายร่างกายสาหัส เรื่องหนึ่ง ในวันนัดดังกล่าว ศาลได้สอบถามจำเลยว่าจะให้การรับสารภาพหรือปฏิเสธ จำเลยก็บอกศาลว่า ปฏิเสธครับ ศาลก็ถามต่อว่า “คดีอย่างนี้ จะสู้อย่างไร เห็นแพ้ทุกคดี น่าจะรับสารภาพ จะได้ลดโทษ” ………… คดีอาญา เมื่อพนักงานสอบสวน ได้ทำการสอบสวนเสร็จสิ้น และได้มีความเห็นควรสั่งฟ้องก็จะส่งเรื่องให้พนักงานอัยการสั่งต่อไป และหากพนักงานอัยการสั่งฟ้อง ก็จะต้องนำตัวผู้ต้องหา ไปศาลพร้อมคำฟ้อง และเมื่อศาลรับฟ้อง ก็จะสอบถามคำให้การจำเลย ว่าจะให้การยอมรับหรือปฏิเสธ ขั้นตอนนี้ ... ในทางปฏิบัติ ท่านผู้พิพากษาก็จะสอบถามคำให้การจำเลยอีกครั้ง ในวันนัดพร้อม ซึ่งปกติจำเลยก็จะมีทนายแล้ว การถามคำให้การจำเลยครั้งนี้ หากท่านผู้พิพากษาบอกกับจำเลยว่า"หากรับสารภาพ ก็จะได้รับการลดโทษ หากปฏิเสธก็จะโดนเต็ม" ดังนี้ หากจำเลยให้การรับสารภาพจะถือว่าเป็นการโน้มน้าว ชักจูงให้จำเลยรับสารภาพ ซึ่งจะถือเป็นการรับสารภาพโดยไม่เต็มใจหรือไม่ ว่ากันโดยหลักแล้ว คำให้การของผู้ต้องหาหรือจำเลย ต้องเป็นไปด้วยความเต็มใจ หากเกิดจากการชักจูงใจอย่างใดๆ เฉพาะในชั้นพนักงานสอบสวน ย่อมถือเป็นคำให้การที่ไม่ชอบ นำมาใช้ยันจำเลยไม่ได้ เช่นเดียวกัน หากคดีนี้ ผู้พิพากษาที่ออกนั่งบัลลังก์ พยายามโน้มน้าวจำเลยให้รับสารภาพ โดยบอกว่าหากรับก็จะลดให้กึ่งหนึ่ง หากปฏิเสธ และแพ้คดีขึ้นมาจะถูกลงโทษเต็ม ดังนี้ หากจำเลยให้การรับสารภาพ จะสามารถรับฟังมาลงโทษจำเลยได้หรือไม่ (ทางปฏิบัติก็ไม่มีปัญหา เห็นจำเลยยอมรับกัน ลดโทษเสร็จ หากไม่รอการลงอาญา ก็ติดคุกกันไป) แต่หากจำเลยรับสารภาพไป แล้วศาลก็สั่งงดสืบพยานนัดฟังคำพิพากษาเลย คดีอาญาเช่นนี้ หากฟังว่าคำรับสารภาพจำเลยรับฟังไม่ได้ ก็ถือว่าจำเลยปฏิเสธ โจทก์ต้องสืบให้ชัดแจ้งปราศจากข้อสงสัย ผลต้องยกฟ้องเพราะไม่มีพยานหลักฐานมายันการกระทำความผิดของจำเลย ทั้งคำรับสารภาพของจำเลยก็รับฟังไม่ได้ คงต้องยกฟ้องโจทก์ ปล่อยตัวจำเลยไป ส่วนตัวแล้ว เห็นว่าน่าจะมีกฎหมายให้อำนาจพนักงานอัยการ สามารถเจรจาต่อรองคดีกับจำเลยได้ครับ เพื่อลดภาระคดีอาญาขึ้นสู่ศาล ซึ่งมีจำนวนมากมายเหลือเกิน สถิติเพิ่มขึ้น แสดงให้เห็นว่า คดีเพิ่มมากขึ้น (อาชญากรมากขึ้น) หรือว่าตำรวจไทยเก่งขึ้น จับได้มากขึ้น อันนี้ ไม่อาจทราบได้ครับ คงต้องรอดูกันต่อไปครับ. Home Remedies For Wrinkles