การบันทึกคำให้การพยานของศาลชั้นต้น
บันจงสัณห์ วิญญรัตน์
น.บ., น.ม., M.B.A.(U.S.A.)
วันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2553
ด้วยความเคารพต่อผู้พิพากษา และศาล
การบันทึกคำให้การพยานของศาลชั้นต้น ณ ปัจจุบันนั้น กระทำด้วยการอัดเสียงพูดของผู้พิพากษา ที่นั่งพิจารณาคดีนั้นๆ แล้วส่งตลับเทป ให้เสมียนหน้าบัลลังก์ (พนักงานที่นั่งประจำอยู่ด้านหน้าผู้พิพากษา) เพื่อนำมาใส่หูฟัง ถอดคำพูดนั้นๆ ออกมาพิมพ์ เป็นข้อความใส่ในกระดาษ เพื่อให้พยานเซ็นรับรองว่าเป็นคำให้การพยานในศาล เพื่อนำมาประกอบการพิจารณา ตัดสินคดีต่อไป
ประเด็นคือ ผู้พิพากษาสามารถจะบันทึกหรือไม่บันทึกคำถาม-คำตอบใดๆ ก็ได้หรือไม่ อย่างไร เพราะหากบางครั้ง ผู้พิพากษาท่านนั้น มีคติลำเอียงเข้าข้างฝ่ายใดๆ แล้ว อาจจะบันทึกเฉพาะข้อความ คำให้การที่เป็นประโยชน์แก่ฝ่ายนั้น ตรงกันข้าม อาจไม่บันทึกข้อความ หรือคำให้การใดๆ ที่เป็นประโยชน์ต่ออีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งหากว่ากันตามทฤษฎีแล้ว ทนายความฝ่ายที่เสียหาย อาจขอให้ท่านผู้พิพากษาจดคำให้การใดๆก็ได้ หากเห็นว่าเกี่ยวกับประเด็นในคดี แต่วิธีปฏิบัติแล้ว จะมีทนายความสักกี่คนที่กล้าจะแย้งกับ ดุลยพินิจของศาล เพื่อตัวความ และหากเป็นทนายขอแรงยิ่งแล้วกันไปใหญ่ เพราะศาลขอให้มาทำงานคดีให้ ไม่ได้ให้มาเถียงโต้แย้งกับศาล
อย่างนี้ ความยุติธรรมจะเกิดขึ้นได้อย่างไร ทั้งที่ ทั้งท่านผู้พิพากษา พนักงานอัยการ ทนายจำเลย ทนายโจทก์ ก็ไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ รับรู้เรื่องราวมาด้วยตนเอง (ยกเว้นแต่ทนายความที่ลงพื้นที่ สืบเสาะหาข้อเท็จจริงเองจริงๆ หรือหากเป็นผู้พิพากษาที่เผชิญสืบ)
ทั้งนี้ เนื่องจาก ระบบการพิจารณาคดีแพ่ง และอาญาของไทยเรา เป็นแบบระบบกล่าวหา (Accusatiorial System) ไม่เหมือนกับบางประเทศ ซึ่งใช้ระบบไต่สวน (Inquisitorial System) โดยที่ระบบไต่สวนเน้นในเรื่องการค้นหาความจริงเป็นหลัก อันก่อให้เกิดความยุติธรรมขึ้นสูงสุด แก่ประชาชนผู้เดือดร้อนหรือได้รับความเสียหาย และแก่ผู้กระทำผิดเอง
ในทางปฏิบัติแล้วประเทศไทยยังประสบปัญหาในเรื่องของการรวบรวมข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้กระทำผิด เพื่อประกอบการดำเนินคดีอาญาที่ยังกระทำได้ค่อนข้างน้อย เนื่องจากบุคลากรที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าว[1]
[1] สรรค์ชัย สุทธิคนึง การนำเสนอข้อเท็จจริงที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ถูกกล่าวหาเข้าสู่คดีอาญา วิทยานิพนธ์/Thesis มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. ศูนย์สนเทศและหอสมุด 2551
Chiang Mai Lawyer-Solicitor Chiang Rai Lawyer-Solicitor (St.-Cm. Law Firm) Since 1992 AREA OF PRACTICE Divorce Child Custody Family Law Notary Public Property Company Setup Testament Litigation Criminal Defense Civil Law Tel. 086-4293063, 082-1907466, 088-2516286 Fax: 053-718923 E-Mail: cmlawfirm@hotmail.com, banjonsanlawyer@gmail.com Line ID: 0864293063 Offices: Chiang Rai - Chiang Mai (Hot: chiang mai lawyer-chiang mai solicitor-chiang rai lawyer-chiang rai solicitor)
No comments:
Post a Comment