Monday, December 3, 2012

พระราชบัญญัติ ป้องกัน และปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539


 เมื่อพิจารณาเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติ ป้องกัน และปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 คือ โดยที่พระราชบัญญัติปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2503 ได้ประกาศใช้บังคับมาเป็นเวลานาน บทบัญญัติที่มีอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทกำหนดโทษ ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน และโดยที่การค้าประเวณี มีสาเหตุสำคัญมาจากสภาพเศรษฐกิจ และสังคม ผู้กระทำการค้าประเวณีส่วนมากเป็นซึ่งผู้ด้อยสติปัญญา และการศึกษา สมควรลดโทษผู้กระทำการค้าประเวณี และเปิดโอกาสให้บุคคลเหล่านั้นได้รับการคุ้มครอง และพัฒนาอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นการให้การอบรมฟื้นฟูจิตใจ การบำบัดรักษาโรค การฝึกอบรม และพัฒนาอาชีพ ตลอดจนพัฒนาคุณภาพชีวิต และในขณะเดียวกัน เพื่อเป็นการปราบปรามการค้าประเวณี และคุ้มครองบุคคลโดยเฉพาะเด็ก และเยาวชนที่อาจถูกล่อลวงหรือชักพาไปเพื่อการค้าประเวณี สมควรกำหนดโทษบุคคลซี่งกระทำชะราโสเภณีเด็กในสถานการค้าประเวณี บุคคลซึ่งหารายได้จากการค้าประเวณีของเด็ก และเยาวชน และบิดา มารดา หรือผู้ปกครองซึ่งมีส่วนร่วมรู้เห็นเป็นใจนการจัดหาผู้อยู่ในความปกครองไปเพื่อการค้าประเวณี กับให้อำนาจศาลที่จะถอนอำนาจปกครองของบิดา มารดา หรือผู้ปกครองของผู้กระทำความผิดซึ่งเป็นเด็ก เพราะเหตุที่มีส่วนร่วมรู้เห็นเป็นใจผู้อยู่ในความปกครองอกระทำการค้าประเวณี นอกจากนี้  ในปัจจุบัน ปรากฎว่าได้มาตรการโฆษณาชักชวนหรือแนะนำตัวทางสื่อมวลชนในลักษณะที่เห็นได้ว่า เป็นการเรียกร้องการติดต่อในการค้าประเวณีกันอย่างแพร่หลายสมควรกำหนดให้การกระทำดังกล่าวเป็นความผิด จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้               
                                ซึ่งเมื่อสมัยก่อนนั้น อาชีพโสเภณีเป็นอาชีพที่มีเกียรติ ได้รับการยอมรับ จึงพูดได้ว่า กฎหมายฉบับนี้ ได้รับอิทธิพลมาจากความคิดทางประวัติศาสตร์ ตามแนวคิดของทฤษฎีทางประวัติศาสตร์ ของ ซาวิญญี่ ที่ให้เหตุผลเห็นใจผู้เป็นตัวโสเภณี และพยายามแยกตัวโสเภณี และบุคคลที่เกี่ยวข้องในธุรกิจนี้อื่นๆออกไป แต่ก็ยังไม่ยุติธรรมต่อผู้เป็นโสเภณี อยู่ดี
                                นอกจากนี้ ผู้ปฏิบัติตามกฎหมายในทางปฏิบัติส่วนใหญ่จะไม่แจ้งข้อหาหนักแก่ผู้ค้า ผู้เป็นเจ้าสำนักค้า แมงดา ( ผู้มีรายได้จากหญิงที่ค้าประเวณี) ตามข้อหาในประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งมีโทษถึงจำคุกตลอดชีวิต แต่อย่างใด  กลับแจ้งข้อหาเฉพาะตัวโสเภณี (กะหรี่) เป็นโทษปรับ จ่ายเงินค่าปรับแล้วปล่อยตัวไป ส่วนเจ้าของสถานประกอบการก็ใช้แค่โทษปรับเท่านั้น ปัญหาการละเมิดไม่เกรงกลัวกฎหมายจึงเกิดขึ้น กระทั่งปัจจุบัน
                                หากวิเคราะห์เหตุผลการออกกฎหมายดังกล่าวข้างต้น แล้วพูดได้ว่า สังคมมีความเห็นอกเห็นใจตัวผู้เป็นโสเภณี จึงมีความพยายามด้วยวิธีดังกล่าวข้างต้น ในแนวคิดของผู้เขียนแล้ว เห็นว่า น่าจะมีการจดทะเบียนโสเภณี มีองค์กรเฉพาะอาชีพ เช่นอาชีพทั่วไป เพื่อคุ้มครอง อบรมมารยาท และอื่นๆ ให้บรรดาโสเภณี  ให้มีหน่วยงานดูแลอบรมผู้หญิงที่จะเป็นโสเภณี ทั้งเรื่องมารยาท และอื่นๆ เช่นกระทรวงวัฒนธรรม จะอ้างว่าผิดวัฒนธรรมไทยมาแต่โบราณก็ไม่ได้ เพราะว่า ในอดีตนั้นโสเภณีเป็นที่ยอมรับ และสมัยพุทธกาลก็เป็นอาชีพที่มีเกียรติ หากหญิงใดไม่มีคุณสมบัติเป็นโสเภณีได้ เช่นไม่ผ่านการอบรม มารยาทไม่ดีงาม เป็นต้น ก็ให้เป็นผู้ช่วยโสเภณี และให้มีบทลงโทษผู้ที่ไม่ได้รับใบอนุญาตให้เป็นโสเภณี ดังเช่นการมีใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ เป็นต้น                      เมื่อควบคุมโสเภณีได้ ความต้องการของนักเที่ยวกะหรี่หรือโสเภณีดังกล่าว ก็จะมาซื้อบริการที่มีคุณภาพที่ถูกกฎหมาย ปัญหาส่วย การบังคับการค้าก็จะหมดไป จากสังคม
Home Remedies For Wrinkles

No comments:

Post a Comment