Friday, December 28, 2012

พระราชบัญญัติ ควบคุมและจัดการกิจการหรือทรัพย์สินของคนต่างด้าว บางจำพวกในภาวะคับขัน พุทธศักราช 2484(ตอน3)

(ต่อ)(ตอนสาม)


ความเป็นมาของหลักการควบคุม และจัดการ
กิจการหรือทรัพย์สินของคนต่างด้าว และการก่อการร้ายในประเทศไทย

1.   ความหมายของคนต่างด้าว

คนต่างด้าวตามความหมายของพจนานุกรมไทย ได้แยกการให้คำจำกัดไว้ โดยให้ความหมายของคำว่า คน ซึ่งเป็นคำนาม หมายความว่า มนุษย์[1] และคำว่า ต่างด้าว ซึ่งเป็นคำวิเศษณ์ หมายความว่า ชาวต่างประเทศที่มีถิ่นฐานอยู่อีกประเทศหนึ่ง[2]  หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คนต่างด้าว ก็คือ คนต่างประเทศไม่มีถิ่นฐานอยู่ในประเทศไทย ตามความหมายของพจนานุกรมดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม ความหมายดังกล่าวข้างต้น ก็ยังไม่ได้ให้ความกระจ่างชัด ในคำจำกัดความทางด้านกฎหมายแต่อย่างใด หรืออาจกล่าวได้ว่า เป็นเพียงความหมายที่ใช้พูด เจรจา ทั่วๆไปในสังคมเท่านั้น ดังนั้น คนต่างด้าว ในความหมายทางนิติศาสตร์* จึงต้องไปดูที่กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคนต่างด้าว (ซึ่งรายละเอียด ผู้เขียนได้รวบรวมไว้ในบทที่ 3) กล่าวคือ.-
ความหมายของ คนต่างด้าว ตามพระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ.2493 ได้ให้นิยาม คำว่า คนต่างด้าว หมายความว่า คนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ[1] ตามกฎหมายฉบับนี้ ก็ให้ความหมายถึงคนต่างด้าวเฉพาะคนหรือบุคคลธรรมดาเท่านั้น ทั้งยังได้อ้างถึงกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ จึงต้องไปดูว่า ตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาตินั้นได้ให้ความหมายของคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ว่าอย่างไรหรืออีกนัยหนึ่งได้ให้ความหมายของคนต่างด้าวไว้ว่าอย่างไร
ความหมายของ คนต่างด้าว ตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 ได้ให้นิยามคำว่า คนต่างด้าว หมายความว่า ผู้ซึ่งมิได้มีสัญชาติไทย[2] และบทบัญญัติต่างๆในมาตรานี้ ก็เกี่ยวข้องกับการได้สัญชาติไทย การเสียสัญชาติไทย การแปลงสัญชาติไทย การถอนสัญชาติไทย เป็นต้น ไม่ได้มีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับความเป็นนิติบุคคลของคนต่างด้าว แต่อย่างใด กล่าวคือ ให้ความหมายแต่เพียง บุคคลธรรมดาเท่านั้น ไม่ได้รวมไปถึงนิติบุคคล, องค์การต่างๆ หรือแม้กระทั่งคณะบุคคล
ความหมายของ คนต่างด้าว ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ได้ให้นิยามคำว่า คนต่างด้าว หมายความว่า บุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทย[3]
ความหมายของ คนต่างด้าว ตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2521 ได้ให้คำนิยามไว้ว่า คนต่างด้าว หมายความว่า บุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทย [4] ซึ่งก็ไม่รวมถึงนิติบุคคล หรือองค์การต่างๆ ที่ไม่มีสัญชาติไว้ด้วย
ความหมายของ คนต่างด้าว ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 ก็ได้ให้คำจำกัดความ ความหมายของคำว่า คนต่างด้าว ไว้หมายความถึง
1)   บุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทย
2) นิติบุคคลซึ่งไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย
3)   นิติบุคคลซึ่งจดทะเบียนในประเทศไทย และมีลักษณะดังต่อไปนี้(ก) นิติบุคคลซึ่งมีหุ้นอันเป็นทุนตั้งแต่กึ่งหนึ่งของนิติบุคคลนั้นถือโดยบุคคลตาม (1) หรือ (2) หรือนิติบุคคลซึ่งมีบุคคลตาม (1) หรือ (2) ลงทุนมีมูลค่าตั้งแต่กึ่งหนึ่งของทุนทั้งหมดในนิติบุคคลนั้น
      (ข)    ห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่จดทะเบียน ซึ่งหุ้นส่วนผู้จัดการหรือผู้จัดการเป็นบุคคลตาม (1)
4)   นิติบุคคลซึ่งจดทะเบียนในประเทศไทย ซึ่งมีหุ้นอันเป็นทุนตั้งแต่กึ่งหนึ่งของนิติบุคคลนั้นถือโดยบุคคลตาม (1)(2) หรือ (3) หรือนิติบุคคลซึ่งมีบุคคลตาม (1)(2) หรือ (3) ลงทุนมีมูลค่าตั้งแต่กึ่งหนึ่งของทุนทั้งหมดในนิติบุคคลนั้น[1]
      ความหมายของ คนต่างด้าว ตามพระราชบัญญัติการเนรเทศ พ.ศ.2499  ก็ได้ให้คำจำกัดความ ความหมายของคำว่า คนต่างด้าว ไว้หมายความว่า ผู้ที่มิได้มีสัญชาติไทย[2]
      ความหมายของ คนต่างด้าว ตามพระราชบัญญัติควบคุมและจัดการ กิจการหรือทรัพย์สินคนต่างด้าว บางจำพวก ในภาวะคับขัน พ.ศ.2484 ที่ผู้เขียนได้ให้ความสนใจในการศึกษาเป็นกฎหมายหลักของการศึกษาอิสระฉบับนี้ ถึงแม้จะไม่ได้บัญญัติคำนิยามคำว่า คนต่างด้าว ไว้เฉพาะก็ตาม แต่ในบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวก็ได้ให้คำขยายความของคำว่า คนต่างด้าว ไว้ว่า คนต่างด้าวนั้น นอกจากบุคคลธรรมดา ให้หมายความรวม ตลอดถึง มูลนิธิ บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญที่จดทะเบียนและมิได้จดทะเบียน และองค์การรูปอื่นใด แม้จะมิได้เป็นนิติบุคคล หรือเป็นนิติบุคคลจดทะเบียนในประเทศไทย  แต่ได้กระทำการ เพื่อประโยชน์แก่คนต่างด้าวนั้น[3]



[1] พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542, มาตรา 4.
[2] พระราชบัญญัติการเนรเทศ พ.ศ.2499, มาตรา 4.
[3] พระราชบัญญัติควบคุมและจัดการ กิจการหรือทรัพย์สินคนต่างด้าว บางจำพวก ในภาวะคับขัน พ.ศ.2484, มาตรา 6 วรรคสอง.



[1] พระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ.2493, มาตรา 4.
[2] พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508, มาตรา 4.
[3] พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522, มาตรา 4.
[4] พระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2521, มาตรา 5.



[1]สุวิทย์ หิรัณยกาณท์, พจนานุกรมไทย, 2547, ภายใต้คำ คน.
[2]เรื่องเดียวกัน, ภายใต้คำ ต่างด้าว.
*เป็นที่สังเกต ว่ารัฐธรรมนูญไทย 2540 ฉบับปัจจุบัน ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุด เป็นกฎหมายแม่บท ไม่ได้ให้คำจำกัดความของคนต่างด้าวไว้แต่อย่างใด. 
Home Remedies For Wrinkles

Sunday, December 9, 2012

พระราชบัญญัติ ควบคุมและจัดการกิจการหรือทรัพย์สินของคนต่างด้าว บางจำพวกในภาวะคับขัน พุทธศักราช 2484


(ต่อ) 

ในขณะเดียวกัน ความมั่นคงของประเทศ ก็เป็นหน้าที่ ที่สำคัญที่สุดในการบริหารประเทศ ของรัฐบาล การดำเนินการ การใช้อำนาจของรัฐ เพื่อรักษาความมั่นคง ประโยชน์ของส่วนรวม ย่อมต้องกระทบกระเทือนต่อสิทธิ เสรีภาพของปัจเจกชน ไม่มากก็น้อย ทั้งนี้ ก็เพื่อที่จะรักษาประโยชน์ของส่วนรวมไว้
นโยบายเพื่อการลงทุน และความมั่นคงของประเทศ รัฐบาลจึงต้องการอำนาจในการบริหาร หรือดำเนินการ ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว และอำนาจดังกล่าว ก็ได้มาด้วยกฎหมาย จากฝ่ายนิติบัญญัติ และหากมีกฎหมายดังกล่าว มีปัญหาการบังคับใช้ ฝ่ายตุลาการก็จะเป็นผู้นำกฎหมายนั้นๆ มาตีความ ตามหลักการแบ่งแยกอำนาจ หลักการใช้อำนาจของรัฐ และหลักนิติรัฐ ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 อันถือว่าเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ตามหลักรัฐธรรมนูญนิยม 
พระราชบัญญัติควบคุมและจัดการ กิจการหรือทรัพย์สิน ของคนต่างด้าว บางจำพวก ในภาวะคับขัน พ.ศ.2484 เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความมั่นคงของของรัฐ และเป็นกฎหมายที่ให้อำนาจรัฐในการดำเนินการ จัดการ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ตามกฎหมาย โดยได้บัญญัติมาใช้ภาวะคับขันยามสงคราม ซึ่งอาจจะไม่ทันสมัยกับสภาพของสังคม และเหตุการณ์ของประเทศไทยในปัจจุบัน ที่ภาวะคับขันในด้านสงครามเป็นรูปแบบการก่อการร้าย  ยังไม่มีความชัดเจน ในการนำมาบังคับใช้กับสถานการณ์ ดังกล่าวได้อย่างประสิทธิภาพ ให้สามารถรักษาความสงบสุข ใช้แก้ไขในภาวะคับขันเช่นนั้นได้ เนื่องจากต้องตีความคำจำกัดความ, มีข้อสงสัยอยู่ว่ากฎหมายนี้ขัดต่อกฎหมายอื่น โดยเฉพาะกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 หรือไม่  หากเกิดปัญหาดังกล่าว จะสามารถแก้ไขเหล่านั้นได้อย่างไร
และถ้าหากมีการแก้ไขกฎหมายให้ผู้มีอำนาจควบคุมจัดการ กิจการหรือทรัพย์สินของคนต่างด้าว บางจำพวก ในภาวะคับขัน ให้ชัดเจน ในสถานการณ์ หรือเงื่อนไขที่ชัดเจนแล้ว  ผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้แก่ คนสัญชาติไทย, คนต่างด้าว และเจ้าหน้าที่ของรัฐ มีความเข้าใจตรงกัน สามารถแก้ไขปัญหาเรื่องความมั่นคง บรรลุตามวัตถุประสงค์ของกฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพในที่สุด นำความเจริญ และความผาสุกมาสู่สังคมส่วนรวมของประเทศชาติได้ นอกจากนี้ คนต่างด้าวที่นำเงินมาลงทุนในประเทศไทย ก็จะมีความมั่นใจในการลงทุนเปิดกิจการ หรือมีทรัพย์สินในประเทศไทย ตามเป้าหมายนโยบายของรัฐบาลที่ให้การส่งเสริมการลงทุนกับชาวต่างชาติ ในขณะที่ต้องรักษาความมั่นคง ความสงบสุขของสังคมไว้ในเพลาเดียวกัน การแก้ไขกฎหมายจึงต้องประสานประโยชน์ทั้งสองนี้ให้มีความเสียหายแก่ประเทศน้อยที่สุด
ผู้เขียนจึงได้สนใจเรื่องของปัญหาทางกฎหมายจากการบังคับใช้ พระราชบัญญัติควบคุมและจัดการ กิจการหรือทรัพย์สินของคนต่างด้าว พ.ศ.2484 ฉบับนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก้ไขบทบัญญัติให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ และตามนโยบายของรัฐบาลปัจจุบัน และสามารถนำมาปรับใช้บังคับกับสภาวการณ์ปัญหาปัจจุบัน โดยเฉพาะสงครามการก่อการร้ายในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศ  ทั้งนี้ ก็เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญยิ่ง.
Home Remedies For Wrinkles

Saturday, December 8, 2012

พระราชบัญญัติควบคุมและจัดการ กิจการหรือทรัพย์สินของคนต่างด้าว พ.ศ.2484

โดย ....
บันจงสัณห์ วิญญรัตน์,
น.บ., น.ม.., M.B.A.
ิcmlawfirm@hotmail.com

1.  ความเป็นมา และสภาพปัญหา

ประเทศไทยถือเป็นรัฐอิสระรัฐหนึ่ง มีการปกครองโดยระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย เหนือดินแดนของตนเอง  โดยมีพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นพระประมุข ทรงใช้อำนาจนั้น ทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล
ประเทศไทย จึงเป็นรัฐที่มีอิสระในการบัญญัติกฎหมายมาบังคับใช้ ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายที่ให้สิทธิ ให้ความคุ้มครอง หรือกฎหมายที่ใช้ในการควบคุมลิดรอนสิทธิ เสรีภาพบางประการของเอกชน คนต่างด้าว ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับระหว่างเอกชนกับเอกชนด้วยกัน หรือกฎหมายที่ใช้บังคับระหว่างรัฐกับเอกชน หรือกฎหมายที่ให้อำนาจรัฐในการปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติ เพื่อความมั่นคง หรือกฎหมายที่ให้การส่งเสริมสนับสนุนการลงทุน เพื่อให้ชาวต่างชาติ คนต่างด้าว นำเงินเข้ามาลงทุนในประเทศ เพื่อผลทางเศรษฐกิจ ในขณะเดียวกัน รัฐก็ต้องรักษาความสงบ เรียบร้อย ทางด้านความมั่นคงของชาติ
และหากคนต่างด้าว เข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยแล้ว คนต่างด้าวเหล่านั้น จะต้องเคารพ และปฏิบัติตามกฎหมายของประเทศไทย และประเทศไทยในฐานะรัฐเจ้าของดินแดน ก็มีหน้าที่ต้องให้ความคุ้มครองแก่คนต่างด้าว ตามหลักสิทธิมนุษยชน  หากจะบัญญัติกฎหมายใดๆออกมาใช้บังคับ ต้องคำนึงถึงสิทธิเหล่านี้ และการบัญญัติกฎหมาย ต้องมีความชัดเจน แน่นอน เข้าใจ สามารถปฏิบัติตามได้ หากมีการบังคับใช้ มิฉะนั้น ก็จะเกิดปัญหาทางกฎหมาย ต่างๆ มากมาย เช่นปัญหาการตีความ, ปัญหาการปฏิบัติตามของผู้ปฏิบัติหรือผู้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายนั้นๆ, ปัญหาการจัดการ, ปัญหาการบริหารองค์กร การจัดตั้งองค์กร, ปัญหาการออกกฎหมายลูกมารองรับ เป็นต้น ทำให้การบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว ไม่มีประสิทธิภาพหรือบังคับใช้ไม่ได้ ไม่สมประสงค์ของการบัญญัติกฎหมายนั้นๆ ขึ้นมาบังคับใช้  ...... (ยังมีต่อ) 


Home Remedies For Wrinkles

Monday, December 3, 2012

พระราชบัญญัติ ป้องกัน และปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539


 เมื่อพิจารณาเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติ ป้องกัน และปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 คือ โดยที่พระราชบัญญัติปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2503 ได้ประกาศใช้บังคับมาเป็นเวลานาน บทบัญญัติที่มีอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทกำหนดโทษ ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน และโดยที่การค้าประเวณี มีสาเหตุสำคัญมาจากสภาพเศรษฐกิจ และสังคม ผู้กระทำการค้าประเวณีส่วนมากเป็นซึ่งผู้ด้อยสติปัญญา และการศึกษา สมควรลดโทษผู้กระทำการค้าประเวณี และเปิดโอกาสให้บุคคลเหล่านั้นได้รับการคุ้มครอง และพัฒนาอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นการให้การอบรมฟื้นฟูจิตใจ การบำบัดรักษาโรค การฝึกอบรม และพัฒนาอาชีพ ตลอดจนพัฒนาคุณภาพชีวิต และในขณะเดียวกัน เพื่อเป็นการปราบปรามการค้าประเวณี และคุ้มครองบุคคลโดยเฉพาะเด็ก และเยาวชนที่อาจถูกล่อลวงหรือชักพาไปเพื่อการค้าประเวณี สมควรกำหนดโทษบุคคลซี่งกระทำชะราโสเภณีเด็กในสถานการค้าประเวณี บุคคลซึ่งหารายได้จากการค้าประเวณีของเด็ก และเยาวชน และบิดา มารดา หรือผู้ปกครองซึ่งมีส่วนร่วมรู้เห็นเป็นใจนการจัดหาผู้อยู่ในความปกครองไปเพื่อการค้าประเวณี กับให้อำนาจศาลที่จะถอนอำนาจปกครองของบิดา มารดา หรือผู้ปกครองของผู้กระทำความผิดซึ่งเป็นเด็ก เพราะเหตุที่มีส่วนร่วมรู้เห็นเป็นใจผู้อยู่ในความปกครองอกระทำการค้าประเวณี นอกจากนี้  ในปัจจุบัน ปรากฎว่าได้มาตรการโฆษณาชักชวนหรือแนะนำตัวทางสื่อมวลชนในลักษณะที่เห็นได้ว่า เป็นการเรียกร้องการติดต่อในการค้าประเวณีกันอย่างแพร่หลายสมควรกำหนดให้การกระทำดังกล่าวเป็นความผิด จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้               
                                ซึ่งเมื่อสมัยก่อนนั้น อาชีพโสเภณีเป็นอาชีพที่มีเกียรติ ได้รับการยอมรับ จึงพูดได้ว่า กฎหมายฉบับนี้ ได้รับอิทธิพลมาจากความคิดทางประวัติศาสตร์ ตามแนวคิดของทฤษฎีทางประวัติศาสตร์ ของ ซาวิญญี่ ที่ให้เหตุผลเห็นใจผู้เป็นตัวโสเภณี และพยายามแยกตัวโสเภณี และบุคคลที่เกี่ยวข้องในธุรกิจนี้อื่นๆออกไป แต่ก็ยังไม่ยุติธรรมต่อผู้เป็นโสเภณี อยู่ดี
                                นอกจากนี้ ผู้ปฏิบัติตามกฎหมายในทางปฏิบัติส่วนใหญ่จะไม่แจ้งข้อหาหนักแก่ผู้ค้า ผู้เป็นเจ้าสำนักค้า แมงดา ( ผู้มีรายได้จากหญิงที่ค้าประเวณี) ตามข้อหาในประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งมีโทษถึงจำคุกตลอดชีวิต แต่อย่างใด  กลับแจ้งข้อหาเฉพาะตัวโสเภณี (กะหรี่) เป็นโทษปรับ จ่ายเงินค่าปรับแล้วปล่อยตัวไป ส่วนเจ้าของสถานประกอบการก็ใช้แค่โทษปรับเท่านั้น ปัญหาการละเมิดไม่เกรงกลัวกฎหมายจึงเกิดขึ้น กระทั่งปัจจุบัน
                                หากวิเคราะห์เหตุผลการออกกฎหมายดังกล่าวข้างต้น แล้วพูดได้ว่า สังคมมีความเห็นอกเห็นใจตัวผู้เป็นโสเภณี จึงมีความพยายามด้วยวิธีดังกล่าวข้างต้น ในแนวคิดของผู้เขียนแล้ว เห็นว่า น่าจะมีการจดทะเบียนโสเภณี มีองค์กรเฉพาะอาชีพ เช่นอาชีพทั่วไป เพื่อคุ้มครอง อบรมมารยาท และอื่นๆ ให้บรรดาโสเภณี  ให้มีหน่วยงานดูแลอบรมผู้หญิงที่จะเป็นโสเภณี ทั้งเรื่องมารยาท และอื่นๆ เช่นกระทรวงวัฒนธรรม จะอ้างว่าผิดวัฒนธรรมไทยมาแต่โบราณก็ไม่ได้ เพราะว่า ในอดีตนั้นโสเภณีเป็นที่ยอมรับ และสมัยพุทธกาลก็เป็นอาชีพที่มีเกียรติ หากหญิงใดไม่มีคุณสมบัติเป็นโสเภณีได้ เช่นไม่ผ่านการอบรม มารยาทไม่ดีงาม เป็นต้น ก็ให้เป็นผู้ช่วยโสเภณี และให้มีบทลงโทษผู้ที่ไม่ได้รับใบอนุญาตให้เป็นโสเภณี ดังเช่นการมีใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ เป็นต้น                      เมื่อควบคุมโสเภณีได้ ความต้องการของนักเที่ยวกะหรี่หรือโสเภณีดังกล่าว ก็จะมาซื้อบริการที่มีคุณภาพที่ถูกกฎหมาย ปัญหาส่วย การบังคับการค้าก็จะหมดไป จากสังคม
Home Remedies For Wrinkles