ประเทศไทย
จะถือหลัก"การเยียวยาให้ผู้เสียหายอยู่ในฐานะเดิมก่อนถูกทำละเมิด"
คือเสียหายเท่าใด ชดใช้เท่านั้น แต่มีกฎหมายพิเศษบางฉบับ
กำหนดให้ศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายเชิงลงโทษจำเลยโดยเฉพาะไว้ เช่น
1.
การละเมิดต่อสิทธิในความลับทางการค้า
ตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้า (กำหนดค่าเสียหายเป็นการลงโทษได้ไม่เกิน2เท่าของความเสียจริง) การเลือกปฏิบัติต่อผู้พิการโดยไม่เป็นธรรม
2.
ตามพ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาชีวิตผู้พิการ(4เท่าของความเสียหายจริง)
การนำเข้าหรือขายสินค้าโดยรู้อยู่แล้วว่าสินค้านั้นไม่ปลอดภัย
3.
ตามพรบ.ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย
พ.ศ. 2551 (2เท่าของความเสียหายจริง)
4.
และ
ที่สำคัญที่สุดและทนายความจะมีโอกาสใช้มากที่สุดคือ
ผู้ประกอบธุรกิจกระทำโดยเจตนาเอาเปรียบผู้บริโภคโดยไม่เป็นธรรมหรือไม่นำพาต่อความเสียหายที่เกิดแก่ผู้บริโภคหรือกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนต่อความรับผิดชอบในฐานะผู้มีอาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน
(2เท่าของค่าเสียหายที่แท้จริง
แต่ถ้าค่าเสียหายที่แท้จริงๆไม่เกิน 5 หมื่นบาท
กำหนดได้ไม่เกิน 5เท่า)
No comments:
Post a Comment