สืบพยานต่อเนื่อง
รัฐธรรมนูญฯ ได้แก้ไขให้การดำเนินคดีในศาลให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง และเป็นธรรม
ในอดีตก่อนที่
รธน.นี้จะนำมาใช้ การนัดสืบพยานในศาล วันหนึ่งจะนัดได้หลายคดีๆ ละปากหรือสองปาก
แล้วแต่ศาล และทนายความ และอัยการ จะตกลงกัน
ต่อมา
ศาลต้องนัดวันหนึ่งได้หนึ่งคดีหรือสองคดี
เพื่อนัดสืบหลายๆปากให้เสร็จไปในวันเดียวหรือสองวัน ผลปรากฏว่า ผู้พิพากษา
ต้องถูกบังคับให้สืบพยานให้เสร็จ แต่ละปาก ก็จะถูกเร่งให้ถาม-ถามค้าน และถามติง
มีคดีหนึ่ง ศาลจังหวัดเชียงราย ผู้พิพากษาท่านออกนั่งบัลลังก์
สืบพยานไปจนเลยเที่ยง ยังไม่ได้ทานข้าวเลย เพราะต้องอ่านคำให้การพยานให้พยานฟัง
ส่วนอัยการ และทนายขอตัวออกไปแล้ว อย่างนี้ จะเรียกว่าเป็นธรรมหรือไม่
การเร่งรัดคดี อาจเป็นผลดี แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานในความเป็นธรรมด้วย
การเร่งรัด แต่หากฝ่ายอัยการ-ทนายความ-พยาน และศาล เกิดความอ่อนเพลีย, สภาพทางร่างกาย และจิตใจไม่พร้อมแล้ว (ต่างประเทศถือเป็นเรื่องใหญ่มาก) การสืบพยานย่อมไม่ได้รับผลเต็มที่ คู่ความย่อมไม่ได้รับความเป็นธรรมดังที่ รธน. ตั้งใจให้เป็น
No comments:
Post a Comment