Divorce-Custody: ในคดีหย่า แม้โจทก์จะไม่ได้นำสืบเรื่องอำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ทั้งสอง ศาลมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดว่าจะให้ฝ่ายใดเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรคนใดและอีกฝ่ายจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูได้
Stats Of Hits
Chiang Mai Lawyer-Solicitor Chiang Rai Lawyer-Solicitor (St.-Cm. Law Firm) Since 1992 AREA OF PRACTICE Divorce Child Custody Family Law Notary Public Property Company Setup Testament Litigation Criminal Defense Civil Law Tel. 086-4293063, 082-1907466, 088-2516286 Fax: 053-718923 E-Mail: cmlawfirm@hotmail.com, banjonsanlawyer@gmail.com Line ID: 0864293063 Offices: Chiang Rai - Chiang Mai (Hot: chiang mai lawyer-chiang mai solicitor-chiang rai lawyer-chiang rai solicitor)
Saturday, October 22, 2016
การสมรสเป็นโมฆะ จ้างอุ้มท้อง
การสมรสเป็นโมฆะ จ้างอุ้มท้อง
โจทก์ฟ้องหย่าจำเลยและขอเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง และอุปการะเลี้ยงดูเด็กชาย
ม. จำเลยให้การว่า โจทก์ว่าจ้างจำเลยให้จดทะเบียนสมรส
และใช้วิทยาการทางการแพทย์โดยการผสมเชื้ออสุจิเพื่อตั้งครรภ์เด็กชาย ม. ให้โจทก์
โดยไม่เคยได้ใช้ชีวิตดังสามีภริยาเลย เมื่อเด็กชาย ม. คลอด โจทก์ไม่ส่งเงินมาให้
ไม่ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรแต่กลับขู่ให้ส่งมอบบุตรให้ ขอให้ยกฟ้อง
ศาลได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทด้วยว่า
การจดทะเบียนสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นโมฆะหรือไม่โดยให้จำเลยมีภาระการพิสูจน์ในประเด็นดังกล่าว
เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า การจดทะเบียนสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นการจดทะเบียนที่ปราศจากความยินยอมที่จะอยู่กินฉันสามีภริยากันอย่างแท้จริง
เนื่องจากโจทก์กับจำเลยจดทะเบียนสมรสกันเพราะโจทก์ตกลงว่าจ้างจำเลยให้ตั้งครรภ์บุตรให้แก่โจทก์ด้วยวิธีการผสมเทียม
โดยต่างไม่ยินยอมเป็นสามีภริยากันอย่างแท้จริงและไม่ประสงค์ที่จะอยู่กินร่วมกันฉันสามีภริยา
จึงเป็นการสมรสที่ผิดเงื่อนไข ซึ่งมีผลให้การสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นโมฆะ การที่จำเลยให้การต่อสู้คดีว่าการสมรสเป็นโมฆะ
ถือได้ว่าเป็นกรณีที่จำเลยซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียร้องขอต่อศาลให้การสมรสเป็นโมฆะ
ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ศาลมีอำนาจพิพากษาว่าการสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นโมฆะได้
กรณีไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
แม้การสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นโมฆะ
แต่เมื่อบุตรผู้เยาว์คลอดระหว่างที่ศาลยังไม่ได้มีการพิพากษาว่าการสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นโมฆะ
ผู้เยาว์จึงเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10442/2558
Monday, October 3, 2016
สามี ภริยา ต้องร่วมประเวณีกัน แต่ต้องไม่ขืนใจกัน (เหตุหย่า)
สามีภริยาต้องอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา
ซึ่งจะต้องมีการร่วมประเวณีกันบ้าง
แต่การร่วมประเวณีต้องเกิดจากความยินยอมของทั้งสองฝ่าย
หากอีกฝ่ายไม่ยินยอมก็ไม่อาจบังคับได้ หากขืนใจถือเป็นความผิดอาญา ข้อหาข่มขืนกระทำชำเรา
การที่จำเลยเรียกบุตรผู้เยาว์มาฟังคำด่าจนโจทก์ยอมให้จำเลยร่วมประเวณีเพื่อให้บุตรผู้เยาว์ไปพักผ่อน
เช่นนี้จะถือว่าโจทก์ยอมให้จำเลยร่วมประเวณีไม่ได้
และการที่โจทก์มดลูกอักเสบจากการร่วมประเวณีของจำเลย จำเลยทราบแต่ไม่หยุดร่วมประเวณีกับโจทก์
จนโจทก์ต้องหนีออกจากบ้าน
พฤติกรรมของจำเลยถือเป็นการทำร้ายหรือทรมานจิตใจโจทก์อย่างร้ายแรง อันเป็นเหตุหย่า
และยังถือเป็นพฤติการณ์ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรงด้วย
ที่มา: คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 302/2559
Sunday, October 2, 2016
จัดการมรดกยังไม่เสร็จ อายุความไม่ต้องคำนึ่งถึง
จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของ ส. ซึ่งมีหน้าที่ต้องแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาททุกคนซึ่งรวมถึง ป. คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในขณะที่ ส. เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย การที่จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกโอนที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกทั้งสามแปลง ให้แก่ตนเองเพียงผู้เดียวจึงเป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าว และถือได้ว่าการมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทางทะเบียนในที่ดินดังกล่าวเป็นเพียงการครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทอื่นของ ส. ทุกคนเท่านั้น จำเลยจึงไม่อาจยกอายุความมรดกขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกของ ส. ในส่วนที่ตกได้แก่ ป. คดีของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
ที่มา: คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๒๗๖/๒๕๕๘
Subscribe to:
Posts (Atom)